เช็คหน่อย! สิวที่ขึ้น เพราะใส่หน้ากากหรือเปล่า!? จะป้องกัน “สิวหน้ากาก” อย่างไรในภาวะร้อนชื้นและฝนตกตลอดแบบนี้ มาห่างสิวแบบ New Normal กันเถอะ!

Last updated: 26 ก.พ. 2566  |  1090 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เช็คหน่อย! สิวที่ขึ้น เพราะใส่หน้ากากหรือเปล่า!? จะป้องกัน “สิวหน้ากาก” อย่างไรในภาวะร้อนชื้นและฝนตกตลอดแบบนี้ มาห่างสิวแบบ New Normal กันเถอะ!

ช่วงนี้บางคนคงกลับไปทำงานที่ออฟฟิศแล้ว และอีกบางส่วนก็ได้รับแจ้งกำหนดการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศเป็นที่เรียบร้อย และในภาวะที่ยังต้องเฝ้าระวังการระบาดของ “โควิด-19” การใส่ “หน้ากาก” ประเภทต่าง ๆ เกือบตลอดวัน จึงกลายเป็น “New Normal” ของเราไปแบบไม่ต้องเดาเลย

สภาพอากาศช่วงนี้ก็ยิ่งซ้ำเติมให้การใส่หน้ากากเป็นเรื่องลำบากเข้าไปใหญ่ ไหนจะความร้อนอบอ้าว ร้อนชื้น เหนอะหนะ ฝุ่น มลพิษที่มากับฝนและละอองน้ำ วันนี้ Gilla8 อยากชวนมาเช็คกันหน่อยว่าสิวที่เพิ่งเห่อขึ้นมา เป็น “สิวหน้ากาก” หรือเปล่า?

 

“สิวหน้ากาก” เกิดจากอะไร

1.       การเสียดสี-รัด การใส่หน้ากากให้ได้ผล หน้ากากต้องแนบสนิทกับใบหน้า จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่หน้ากากจะต้องสัมผัสและเสียสีกับผิวหน้าตลอดการสวมใส่ ซึ่งการเสียดสีนี้เองที่ทำให้ผิวบาง ระคายเคือง อักเสบ เกิดสิวได้ง่ายขึ้น รวมถึงการรัด-กดทับบริเวณขอบหน้ากากก็สามารถทำให้ผิวไม่สามารถขับน้ำมันออกมาได้จนเกิดการอุดตันของรูขุมขน

2.       ความอับชื้น การหายใจของเราจะทำให้ภายในหน้ากากมีความชื้นสูงขึ้น เกิดความร้อน เกิดเหงื่อภายใต้หน้ากาก ความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชื้อโรคเติบโตได้ดีประกอบกับความอับชื้นในช่วงหน้าฝนนี้ยิ่งทำให้ภายใต้หน้ากากเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคที่ดี แต่ไม่ดีกับผิวที่บอบบางเอาซะเลย อีกอย่างคือความอับชื้นจะทำให้สารบนผิวไม่สามารถระเหยออกได้จนผิวอุดตัน

3.       สิ่งสกปรก นอกจากเชื้อโรคที่เกิดจากการบ่มเพาะภายใต้หน้ากากแล้ว สิ่งสกปรกจากภายนอกที่ลอยมากับอากาศแล้วไหลมาพร้อมเหงื่อจนสะสมที่ขอบหน้ากากหรือที่ติดอยู่ที่หน้ากากอยู่แล้วก็ยิ่งโจมตีผิวเราได้ง่ายขึ้นเพราะผิวที่ถูกเสียดสีจะอยู่ในสภาวะอ่อนแอ ไวต่อสิ่งเร้า และความรัดตัวของหน้ากากก็จะช่วยให้สิ่งสกปรกเหล่านี้ทำร้ายผิวเราได้ง่าย ๆ เลย

4.       อื่น ๆ (เพิ่มเติม) หลายคนอาจเกิดผื่นแพ้จากสารที่เป็นส่วนประกอบหน้ากาก เช่น สารเคลือบหน้ากาก ยางคล้องหู โลหะโครงหน้ากาก ซึ่งจะต้องแยกไปอีกกรณีหนึ่ง ในกรณีที่เกิดผื่นแพ้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ไม่สามารถแก้ไขแบบการแก้ปัญหาสิวได้

วิธีหลีกเลี่ยง


1.       เลือกหน้ากากให้ถูกวัตถุประสงค์ ช่วงหลายปีที่ผ่านมาประชาชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทยต้องต่อสู้กับฝุ่น PM2.5 ซึ่งทำให้ประชาชนบางส่วนคุ้นเคยกับการสวมใส่หน้ากากแบบ N95 ซึ่งทำให้หายใจลำบากและมีความรัดแน่นกับผิวหน้ามากกว่าหน้ากากประเภทอื่น ๆ ผลเสียที่เกิดกับผิวย่อมทวีคูณด้วยเช่นกัน

แต่ในกรณีของการป้องกันไวรัสโคโรน่า การใส่หน้ากากผ้ามัสลินหรือหน้ากากอนามัย (Surgical Mask) จึงมากเพียงพอต่อความจำเป็นในการป้องกันไวรัสโคโรน่าแล้ว (ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเจอกับผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง) พร้อมช่วยลดผลเสียต่อผิวหนังที่เกิดจากการใส่หน้ากากที่รัดแน่นเกินไปด้วย

2.       ถอดหน้ากากบ้าง ในช่วงว่างระหว่างวัน เราควรใช้เวลาในที่ที่คนน้อย โล่ง อากาศถ่ายเทดี แล้วถอดหน้ากากออกบ้างเพื่อลดความอับชื้นใต้หน้ากากและให้ผิวที่ถูกเสียดสีได้ผ่อนคลายบ้าง

3.       เปลี่ยนหน้ากากทุกวัน ในกรณีที่ใส่หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้ง เราไม่ควรใส่หน้ากากซ้ำอยู่แล้ว เพราะหน้ากากที่ใช้แล้วจะมีประสิทธิภาพลดลง อาจลดลงจนเหมือนไม่ได้ใส่หน้ากาก แต่ในกรณีของหน้ากากผ้า ผ้าเป็นวัสดุที่เกิดจากการทอขึ้น ย่อมมีช่องว่างระหว่างเส้นใยที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ง่ายและยิ่งซับเอาเหงื่อ ความชื้น สิ่งสกปรกไว้ในตัวมันด้วย อย่างน้อยเราควรซักหน้ากากทุกวันหลังสวมใส่หรืออาจหาหน้ากากผ้าหลาย ๆ ชิ้น สลับใส่และซักหน้ากากผ้าที่ใช้แล้วเป็นรอบ ๆ หมุนเวียนไป ไม่ควรใส่หน้ากากเดิมซ้ำ ๆ เพราะสิ่งสกปรกและเชื้อโรคจะทำให้เกิดปัญหาผิว แล้วยังเสียประสิทธิภาพในการป้องกันโรค โควิด-19 อีกด้วย

4.       ปรับเปลี่ยนการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ บนผิวหน้า การใช้เมคอัพที่คลุมผิวเป็นบริเวณกว้าง เช่น รองพื้น จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิวเนื่องมาจากการอุดตันของผิวหนัง จึงควรหลีกเลี่ยงไปก่อน กลุ่มสกินแคร์ที่มีความเข้มข้นสูงก็เช่นกัน อาจต้องพิจารณาปรับลดปริมาณการใช้หรือเลี่ยงไปใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทดแทนก่อน และควรใช้สกินแคร์ที่เหมาะกับผิวบอบบางและเลือกผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำความสะอาดได้ในระดับรูขุมขน



วิธีแก้ไข (กรณีเกิดสิวขึ้นแล้ว)

1.       เปลี่ยนผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าที่ใช้ แม้หลายคนจะแนะนำว่าไม่ควรเปลี่ยนสกินแคร์ในช่วงที่สิวเห่อ แต่ถ้าสกินแคร์ที่ใช้อยู่ก็ซ้ำเติมปัญหาผิวที่กำลังเกิดให้แย่ลง ก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องทนใช้มันต่อไปเพียงเพราะกลัวที่จะลองของใหม่ (ที่อาจจะช่วยได้มากกว่า) ทดลองหันไปใช้สกินแคร์ที่อ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่ายหรือสกินแคร์ที่ช่วยลดการอักเสบโดยตรงจะดีกว่า นอกจากลดการระคายเคืองแล้วยังอาจช่วยแก้ปัญหาสิวเห่อได้

2.       ทำความสะอาดผิวให้มากขึ้น ขั้นแรกลองใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าก่อนการล้างหน้า และต้องเข้าใจวิธีล้างหน้าที่ถูกต้อง จำง่าย ๆ ว่า ล้างครั้งแรก “หน้าแห้ง มือเปียก” และถ้ายังรู้สึกว่าผิวหน้าสะอาดไม่เพียงพอก็ล้างรอบที่สองแบบ “หน้าเปียก มือเปียก” อีกครั้ง หลังล้างหน้า เช็ดผิวหน้าด้วยโทนเนอร์ที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และสำลีแผ่นให้ทั่ว เพราะนอกจากโทนเนอร์จะปรับสภาพผิวให้รับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวได้ดี มันยังช่วยทำความสะอาดหรือช่วยเช็ดสิ่งสกปรกออกอีกครั้งก่อนจะเริ่มบำรุงผิว

3.       บำรุงผิวให้ถูกปัญหา แม้ว่าปกติเราจะใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวกระจ่างใสหรือลดเลือนริ้วรอยเป็นพิเศษก็ตาม แต่การเป็นสิวจะทำให้สุขภาพโดยรวมของผิวดูแย่ลงทันที การแก้ปัญหาสิวจึงเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องจัดการร่วมไปด้วย อาจต้องมีการแบ่งสัดส่วนผลิตภัณฑ์เพื่อปลอบประโลมผิวหรือลดรอยสิวเพิ่มเข้าไปในสกินแคร์ที่ใช้ในแต่ละวัน รวมถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นต่ำหรือลดปริมาณการใช้ลง เพื่อให้ผิวไม่อุดตัน กลับมาดูมีสุขภาพดีดังเดิมโดยเร็ว

 

ถ้าใครกำลังเผชิญปัญหาสิวจากการใส่หน้ากาก ต้องหมั่นสังเกตว่าตนเองแล้วแก้ปัญหาให้ตรงจุดนะ! สำหรับใครที่มองหาสกินแคร์ที่อ่อนโยนต่อผิวมาใช้ในช่วงสิวรุมเร้า สามารถเลือกชมผลิตภัณฑ์โมเดิร์นออแกนิคจาก Gilla8 กลุ่ม Calming ที่ช่วยปลอบประโลมผิว ช่วยให้สิวเห่อสงบลงได้ดูนะ!

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่กำลังมีปัญหาสิว คลิ๊ก--> Gilla8 Calming Set

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้